วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558

การแบ่งส่วนตลาดและการเลือกตลาดเป้าหมาย



การแบ่งส่วนตลาดและการเลือกตลาดเป้าหมาย


          การแบ่งส่วนตลาด หมายถึง กระบวนการการแบ่งตลาดรวมหนึ่งๆ เป็นตลาดใหญ่ย่อยๆ ซึ่งมีสมาชิกที่มีลักษณะเหมือนกัน โดยเมื่อแบ่งเป็นส่วนใหญ่จะเห็นความแตกต่าง และความหมายในแต่ละส่วนย่อย
          Market Segmentation เป็นการแบ่งกลุ่มลูกค้าเพื่อสร้างข้อได้เปรียบในเชิงแข่งขันขององค์กร ซึ่งจะพิจารณาจากลักษณะลูกค้า การซื้อ การใช้ ข้อมูลและวัตถุประสงค์ร่วมกัน เมื่อแบ่งกลุ่มลูกค้าได้บริษัทก็จะวางตำแหน่งสินค้าในSegmentที่เหมาะสม
การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation) ประกอบด้วย
       - ลักษณะของการแบ่งส่วนตลาด
       - ลักษณะการแบ่งส่วนตลาดที่ดี
       - ประโยชน์ของการแบ่งส่วนตลาด
       - เกณฑ์การแบ่งส่วนตลาดผู้บริโภค
       - เกณฑ์การแบ่งส่วนตลาดอุตสาหกรรม

ขั้นตอนในการแบ่งส่วนตลาด
    ขั้นตอนที่ 1 การแบ่งส่วนตลาด
    ขั้นตอนที่ 2 การเลือกตลาดเป้าหมาย
    ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดตำแหน่งผลิตภณฑ์

ลักษณะของการแบ่งส่วนตลาด
    กรณี 1 ไม่มีการแบ่งส่วนตลาด
    กรณี 2 มีการแบ่งส่วนตลาดอย่างสมบูรณ์
    กรณี 3 ใช้ลักษณะร่วมกันบางประการเป็นเกณฑ์

ลักษณะของนักการตลาดที่ดี
    1. ต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอ (Substantiality)
    2. ต้องสามารถวัดถ่ายออกมาได้ (Measurability)
    3. สามารถเข้าถึงตลาดได้ (Accessibility)
    4. ต้องมีการตอบสนอง (Responsiveness)

ประโยชน์ของการแบ่งส่วนตลาด
    1. ทำให้ธุรกิจมองเห็นโอกาสและต้องทำอย่างต่อเนื่อง
    2. ช่วยนักการตลาดในการวิเคราะห์ผู้บริโภคและทิศทางของสินค้า/บริการ
    3. ช่วยในการจัดสรรทรัพยากรทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เกณฑ์การแบ่งส่วนตลาดผู้บริโภค
    - ใช้ตัวแปรเดียว
    - ใช้หลายตัวแปร (มีความยุ่งยากและซับซ้อน)

ตัวแปรในการแบ่งส่วนตลาดผู้บริโภค
    1. ตัวแปรทางประชากรศาสตร์ (Demographic variable)
    2. ตัวแปรทางภูมิศาสตร์ (Geographic variable)
    3. ตัวแปรทางจิตวิทยา (Psychographic variable)
        3.1 วิถีการดำเนินชีวิต (Life Style)
        3.2 ลักษณะบุคลิกภาพ (Personality Characteristic)
    4. ตัวแปรทางพฤติกรรม (Behaviouristic variable)
        4.1 ผลประโยชน์ที่ลูกค้าแสวงหา (Benefit sought)
        4.2 อัตราการใช้ (Usage rate)
        4.3 ความซื่อสัตย์ (Brand Loyalty)

เกณฑ์การแบ่งส่วนตลาดอุตสาหกรรม
      การแบ่งส่วนตลาดอุตสาหกรรมแบ่งได้ 2 ประเภท คือ การแบ่งส่วนตลาดระดับมหภาค และการแบ่งส่วนตลาดระดับจุลภาค
       ระดับมหภาค
         - Product use
         - customer size
         - customer type
         - market geography
       ระดับจุลภาค
        - key purchasing criteria
        - Purchasing strategy
        - Important of purchase
        - Personal Characteristic

          การเลือกตลาดเป้าหมาย (Strategies for selecting Target Markets) คือ การเลือกส่วนส่วนตลาดหนึ่ง ส่วนหรือมากกว่านั้นเป็นเป้าหมายสำหรับการใช้ส่วนผสมทางการตลาดและการใช้ทรัพยากรของธุรกิจ

ปัจจัยที่ใช้ในการประเมินความน่าสนใจของแต่ละส่วนตลาด คือ
  - ขนาดของส่วนตลาด
  - อัตราการเจริญเติบโต
  - อัตราความเสี่ยง
  - จำนวนคู่แข่งขัน
  - ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ
  - ทิศทางของสวนตลาดนั้น
   
กลยุทธ์ในการกำหนดตลาดเป้าหมาย (Strategies for Selecting Target Markets)
    กลยุทธ์ตลาดรวม
       ข้อดี เกิดการประหยัดต้นทุนการผลิตและด้านการตลาด
       ข้อเสีย ยากในการหาสินค้าที่เป็นที่พอใจของลูกค้าทุกรายในตลาด
    กลยุทธ์มุ่งเฉพาะตลาดส่วนเดียว
       ข้อดี เข้าใจในกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดี
       ข้อเสีย มีความเสี่ยงสูง
    กลยุทธ์ตลาดหลายส่วน
       ข้อดี กระจายความเสี่ยง มีโอกาสที่จะเป็นผู้นำตลาด หรือมี Market share เพิ่มขึ้น
       ข้อเสีย ค่าใช้จ่ายสูง

การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ มี 3 ขั้นตอนคือ
   1. ระบุข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่แตกต่าง เพื่อนำไปสร้างตำแหน่งผลิตภัณฑ์
   2. เลือกข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่เหมาะสมที่สุด
   3. เลือกกลยุทธ์การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ในภาพรวม

การวางตำแหน่งที่ดีต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง?
   1. ตำแหน่งในปัจจุบันของเราคืออะไร
   2. องค์กรต้องการไปอยู่ในตำแหน่งใด
   3. ใครเป็นคู่แข่งในตำแหน่งใหม่
   4. องค์กรพร้อมไหมที่จะเข้าสู่ตำแหน่งใหม่
   5. องค์กรสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่
   6. สามารถออกแบบส่วนผสมทางการตลาดที่เหมาะสมได้หรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น