วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการตลาด

ตลาด(Market) ตามหลักวิชาการ จะต้องมีกลุ่มบุคคลหรือองค์กร มีความจำเป็นและความต้องการ มีความเต็มใจในการแลกเปลี่ยน มีความสามารถในการแลกเปลี่ยน และมีอำนาจในการตัดสินใจซื้อ 
เพื่อให้ตนเองมีความพึงพอใจ 

สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา(AMA) ได้ให้ความหมาย ของการตลาดไว้ว่า เป็นการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทางธุรกิจ เพื่อควบคุมกำกับ การเคลื่อนย้ายของสินค้าและบริการ จากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคหรือผู้ใช้

วิวัฒนาการของแนวความคิดทางการตลาด
1.The production concept 
   1.1 มุ่งเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต
   1.2 ต้นทุนต่อหน่วยละราคาสินค้าถูกลง ลูกค้าสามารถซื้อได้มากขึ้น
   1.3 หาวิธีการจัดจำหน่ายให้ได้อย่างทั่วถึง
2.The Product concept
   2.1 กิจการคิดว่าผู้บริโภคต้องการ และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ให้คุณค่าสูงสุด เมื่อเทียบกับราคา
   2.2 กิจการไม่ต้องใช้ความพยายามในการขายมากนัก
   2.3 มุ่งปรับปรุงคุณภาพ รูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์
3.The Selling Concept or Sales Concept
   3.1 กิจการคิดว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่จะไม่พยายามซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่จำเป็น
   3.2 กิจการสามารถจูงใจและกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ โดยใช้เครื่องมือส่งเสริมทางการตลาดต่างๆ
4.The Marketing Concept
   4.1 ศึกษาความต้องการของตลาด หรือผู้บริโภค 
   4.2 วางแผนด้านการตลาด(4 P's)
   4.3 เป้าหมายหลัก เพื่อตอบสนองความต้องการความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ลูกค้า
5.The Societal Marketing Concept
   5.1 เป็นความรับผิดชอบเพิ่มเติม จากการสร้างความพึงพอใจ และความสุขให้กับผู้บริโภค
   5.2 สร้างความแตกต่างในความรู้สึก และความผูกพันต่อผู้บริโภคมากกว่าบริษัทอื่นๆที่ไม่ได้ทำ
6.The Marketing Innovation Concept 
   แหล่งที่มาของนวัตกรรมประกอบด้วย ความคิดใหม่จากchannel สิ่งที่มีอยู่เฉพาะในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การออกแบบที่เรียบง่ายของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว การรวมตัวของนวัตกรรมของซัพพลายเออร์ ความคิดใหม่จากพนักงาน การคัดลอกและการปรับปรุงนวัตกรรมของคู่แข่งขัน การวิจัยทางการตลาด ความคิดใหม่จากผู้บริโภค การคัดลอกจากตลาดต่างประเทศ

ความหมายของนวัตกรรม
   ความหมายเชิงแคบ : นวัตกรรมคือ ผลผลิตของความสำเร็จทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับพลวัตของกิจกรรมทางสังคม
   ความหมายเชิงกว้าง : นวัตกรรมคือ แนวความคิดการปฏิบัติหรือสิ่งต่างๆที่ใหม่ต่อตัวปัจเจกหรือหน่วยที่รับเอาสิ่งเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ การรวมเอากิจกรรมที่นำไปสู่การแสวงหาความสำเร็จเชิงพาณิชย์ การสร้างตลาดใหม่ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการและการบริการใหม่ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่นโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาสและถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

ประเภทของนวัตกรรมแบ่งออกเป็น 7 ประเภท
   1. นวัตกรรมแบบจำลองธุรกิจ เป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
   2. นวัตกรรมการตลาด เป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาวิธีการทำการตลาดรูปแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญ กับการออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือการกำหนดราคา ช่องทางการจัดจำหน่ายและการกระจายสินค้าและการส่งเสริมการตลาด
   3. นวัตกรรมองค์กร เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดโครงสร้างใหม่ขององค์กรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
   4. นวัตกรรมกระบวนการ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการผลิตวิธีการที่แตกต่างไปจากเดิม       เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
   5. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น
   6. นวัตกรรมการบริการ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับปรุงการให้บริการให้ดีขึ้น
   7. นวัตกรรมห่วงโซ่อุปทาน เป็นเรื่องของการพัฒนาแหล่งทรัพยากรต้นทางและการส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือบริการให้กับลูกค้า ๆ

การกำหนดยุทธศาสตร์การจัดการรถประจำทางการตลาด
   ขั้นที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด
   ขั้นที่ 2 ค้นหาความต้องการลูกค้าต่อนวัตกรรมทางการตลาด
   ขั้นที่ 3 วิเคราะห์แนวทางและความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า
   ขั้นที่ 4 วางแผนการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อนำมาพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการทางการตลาด
   ขั้นที่ 5 ทบทวนเลือกแนวทางของนวัตกรรมความมั่นคงที่เป็นไปได้

หน้าที่ทางการตลาด
   1. สารสนเทศทางการตลาด
   2. การซื้อ
   3. การเก็บรักษา
   4. มาตรฐานและระดับคุณภาพสินค้า
   5. การขาย
   6. การขนส่ง
   7. การเงิน
   8. การรับภาระความเสี่ยง

ส่วนประสมทางการตลาด
   1. PRODUCT (goods,Services and Ideas)
   2. PRICE ต้องเหมาะสมกับต้นทุน กลุ่มเป้าหมายและสิ่งแวดล้อม
   3. PLACE กระบวนการในการย้ายผลิตภัณฑ์
   4. PROMOTION การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขายเพื่อเตือนความทรงจำและชักจูงให้เกิดความต้องการ








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น